Page 9 - รายงานประจำปี 2564 ศูนย์ศึกษาการพัฒนาเขาหินซ้อน อันเนื่องมาจากพระราชดำริ
P. 9

ในเอกสารที่พระราชทานแก่ ส�านักงาน กปร. นั้นทรงบันทึกไว้ว่า สมรรถนะของดิน
            ในศูนย์ศึกษาการพัฒนาเขาหินซ้อนฯ ระยะเริ่มแรกที่ทรงค้นพบและทรงวิเคราะห์ว่า

                  “เป็นดินทราย มีแร่ธาตุน้อย”

                  “...ที่ดินที่อยู่ในร่องห้วยมีคุณภาพพอใช้ได้ ไม่มีปัญหามาก ใช้ปุ๋ยตามปกติ ที่บนเนินปรากฏว่า
            เป็นทราย ดินดานและหิน ต้องปลูกหญ้าตามแนวระดับ เพื่อยึดดินและให้เกิดปุ๋ยอินทรีย์ ดิน (ทราย)

            ที่ไม่ปลูกหญ้าถูกชะล้างเมื่อฝนตก ปลูกต้นไม้นานาชนิดเพื่อรักษาความชื้น...”
                  พระราชด�าริด้านการพัฒนาแหล่งน�้าในพื้นที่

                  “...ก่อนอื่นได้สร้างเขื่อนกั้นห้วยเจ๊ก ซึ่งมีน�้าซับ (พิกัด QR.715208) เมื่อไปท�าพิธีเปิดพระบรม
            รูปสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯ ที่วัดเขาหินซ้อน ได้ไปส�ารวจพื้นที่และก�าหนดที่ท�าเขื่อน (8 สิงหาคม 2522)

            ต่อจากนั้นได้สร้างอ่างเก็บน�้าเพิ่มเติม (นอกเขต) คือ อ่างห้วยส�าโรงเหนือและห้วยส�าโรงใต้...”




                  ต่อมา ได้พระราชทานข้อเท็จจริงแก่เจ้าหน้าที่
            ผู้เกี่ยวข้อง ณ ศาลาดุสิดาลัย เมื่อวันที่ 26 สิงหาคม 2531 ว่า

                  “...อันแรกก็ได้ให้กรมชลประทานได้สร้างเป็นอ่าง

            เก็บน�้า ซึ่งดูดูไปแล้วก็แปลก เพราะว่าอ่างเก็บน�้านั้น
            เท่ากับกินที่ของที่ ที่ได้มาเกือบทั้งหมด จะเหลือเพียง

            ไม่กี่ไร่ที่จะใช้การส�าหรับการเพาะปลูกโดยใช้น�้า
            ชลประทาน ก็เริ่มต้นอย่างนั้น คือ ไม่ถือว่าผิดหลักวิชา

            ความจริงก็ผิดหลักวิชา มีที่เท่าไหร่ก็มาใช้ ส่วนใหญ่เป็น
            อ่างเก็บน�้าแล้วก็มาใช้ประโยชน์ส�าหรับท�าการเพาะปลูก

            เพียงไม่กี่ไร่ แต่ว่าถือว่าท�าเป็นตัวอย่าง แล้วผลประโยชน์
            ที่จะได้ก็ไม่ใช่เฉพาะในที่ของเรา เป็นในที่ที่ลงไปข้างล่าง

            คงได้รับประโยชน์จากน�้าที่กักเอาไว้...”

                                                                           รายงานประจ�าปี 2564         7

                                           ศูนย์ศึกษาการพัฒนาเขาหินซ้อนอันเนื่องมาจากพระราชด�าริ
   4   5   6   7   8   9   10   11   12   13   14